ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักเมืองร้อนต้องการอากาศอบอุ่นหรืออากาศร้อนในการเจริญเติบโตถ้าอากาศหนาวจะไม่ค่อยได้ผลดีนัก อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต คือ 16-24 องศาเซลเซียสจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตเนื่องจากรากไม่สามารถดูดอาหารจากดินได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงไป หรือฝนตกชุกดอกจะร่วง
ดินที่เหมาะกับการปลูกถั่วฝักยาว
คือ ดินร่วนปนทรายไม่เป็นกรด หรือด่าง
การเตรียมดิน ในพื้นที่ใหญ่ ๆ ควรทาการไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกควรตากดินไว้ 7-10 วัน ไถครั้งที่สองเพื่อย่อยดินแล้วจึงทาการยกแปลงปลูก ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรด ของดิน
การปลูก
ปลูกเป็นหลุมบนแปลง หยอดเมล็ดลงหลุม ๆ ละ 3-4 เมล็ด ฝังลงดินลึกประมาณ 1.2-2.5 เซนติเมตร ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร อายุได้ 7-10 วัน ทาการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น
การปฏิบัติดูแลรักษา การให้น้า
ควรทำอย่างสม่าเสมอ และเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงออกดอกและติดฝัก อย่าให้ขาดน้าเพราะจะทาให้ดอกและฝักร่วง ฝักกระด้าง ในกรณีที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ก่อนระยะเก็บเกี่ยว 2 อาทิตย์ ควรงดการให้น้ำ
การให้ปุ๋ย
แบ่งใส่ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ใส่ร่องก้นหลุม 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อถั่วฝักยาวมีอายุ 30 วัน อัตรา 13-13-13 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
พรวนดินกำจัดวัชพืช
จะทำทุกระยะ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
การทำค้าง
เมื่อต้นถั่วเริ่มทยอยยาวและเลื้อย อายุประมาณ 15-25 วันขึ้นไปหลังหยอดเมล็ด
การเก็บเกี่ยว
การเก็บฝักสดจะเก็บเมื่อถั่วอายุ ตั้งแต่ 60-90 วันขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยใช้มือเด็ดหรือใช้กรรไกรตัดและควรเลือกเก็บฝักที่ยังไม่พองมีความเรียบสม่าเสมอ สีฝักไม่จาง เก็บทุก ๆ 2-4 วัน ซึ่งจะเก็บได้ประมาณ 10-20 ครั้ง
โรคที่สำคัญ
โรคราสนิม
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูกอย่างสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะใบในทรงพุ่มและใบแก่ตอนล่างของต้น
2. ถ้าพบโรคนี้ ควรพ่นด้วยสารจำพวกกำมะถันผงละลายนํ้าหรือสารประเภทแมนโคเซป
3. แปลงปลูกที่ทรุดโทรมแล้ว ควรรีบรื้อออกและเผาทำลายเพื่อตัดต้นตอของโรคที่จะระบาดในการปลูกครั้งต่อไป
โรคใบด่าง
การป้องกันกำจัด
1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยการเลือกเก็บจากต้นที่ปราศจากโรคใบด่าง
2. ถอนต้นที่มีอาการของโรค ทำลายเผาทิ้ง
3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่นแมลงพาหะ
โรคใบจุด
การป้องกันกำจัด ควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมื่อพบโรคนี้ โดยใช้สารไดเทนเอ็ม 45 เดอโรซาน
บาวิสติน หรือเบนเลท อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตราตามข้างฉลากฉีดพ่นทุก 5-7 วัน
แมลงที่สำคัญ
หนอนเจาะลำต้นถั่ว
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชพวก คาร์โบฟูราน (carbofuran) เช่น ฟูราดานหรือคูราแทร์ รองก้นหลุมอัตรา 2 กรัม/หลุม ซึ่งจะมีผลควบคุมแมลงศัตรูได้ประมาณ 1 เดือน สารเคมีประเภทนี้ควรใช้เฉพาะการหยอด รองก้อนหลุมพร้อมเมล็ดเท่านั้น ไม่ควรหยอดเพิ่ม ระยะหลังเพราะอาจมีพิษตกค้างในผลผลิตได้ หากไม่ได้ใช้วิธีการข้างต้น ให้ป้องกันโดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงพวกไดเมทโธเอท (dimethoate) หรือพวกโมโนโครโตฟอส (monocrotophos) ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน โดยใช้อัตรา 3-4ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ตามฉลากคำแนะนำจนถั่วใกล้ออกดอก
หนอนเจาะฝัก
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น พวกเฟนวาเลอเรท (fenvalerate) ได้แก่ ซูมิไซดิน, ซูมิ 35 หรือไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ได้แก่ ซิมบุซ เป็นต้น หรือสารเคมีกลุ่มอื่นทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย
เพลี้ยอ่อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีพวกเมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน โซนาต้า มอลต้า โมนิเตอร์ เอฟ 5 เป็นต้น ฉีดพ่นในอัตราที่กำหนดไว้ในฉลากคู่มือการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง