การปลูกข้าว
การผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงทั้งปริมาณและคุณภาพ
ต้องมีองค์ประกอบที่เกื้อหนุนหลายปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อม
สภาพพื้นที่ ชนิดของพันธุ์ข้าว ชนิดดิน ช่วงเวลาปลูก การรักษาระดับน้ำ การใส่ปุ๋ย
การเขตกรรมที่เหมาะสม การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยว เงินทุน
และที่สำคัญคือตัวเกษตรกรผู้ปลูก หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือไม่เหมาะสมจะมีผลกระทบต่อผลผลิต
และคุณภาพข้าว
- อุณหภูมิระหว่าง 22-23 องศาเซลเซียส
หากต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ข้าวจะชะงักการเติบโต
และดูดปุ๋ยได้น้อย
- ปริมาณน้ำฝน 1,200-1,500 มิลลิเมตรต่อปี
และมีการกระจายตัวของฝนดี
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม
- ควรเป็นที่ราบลุ่ม ควบคุมระดับน้ำได้
- อยู่ในเขตชลประทานหรืออยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติสนับสนุนตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
ชนิดของพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม
- ชนิดของพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่นา
≈
ข้าวนาสวนนาชลประทาน เหมาะกับพื้นที่นาชลประทานซึ่งเป็นพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้ มีน้ำขังประมาณ 5-15
เซนติเมตรตลอดฤดู มีคันนาเพื่อเก็บกักน้ำและอาศัยน้ำจากชลประทานส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม่ไวต่อแสง
≈ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน เหมาะกับพื้นที่นาน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีน้ำขังไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีคันนาเพื่อเก็บกักน้ำ
และอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก
≈ ข้าวขึ้นน้ำ เหมาะกับพื้นที่นาที่มีน้ำท่วมขังในนาระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่
1-5 เมตร
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน
≈ ข้าวน้ำลึก เหมาะกับพื้นที่นาที่มีระดับน้ำลึกในนามากกว่า50
เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
≈ ข้าวไร่ เหมาะกับพื้นที่นาที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่
บริเวณไหล่เขา หรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง
ไม่มีคันนาเพื่อกักเก็บน้ำส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไวต่อแสง
- พันธุ์ข้าวใช้ปลูก มี 2 ประเภท
≈
พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวต้นเตี้ย ปลูกได้ตลอดปีตอบสนองต่อปุ๋ยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปลูกในฤดูแล้ง
≈
พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวต้นสูง ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำหากใส่ปุ๋ยอัตราสูง ผลผลิตอาจเพิ่มเล็กน้อย
หรือลดต่ำลงเนื่องจากต้นข้าวล้ม
ดินที่เหมาะสม
-
ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.5 - 6.5 ดินเหนียวเป็นดินที่มีเนื้อละเอียดมีธาตุอาหารมากกว่าดินเนื้อหยาบ หรือดินทราย ซึ่งมีธาตุโพแทสเซียมต่ำ
ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม
ภาคเหนือ มิถุนายน – กรกฎาคม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มิถุนายน – กรกฎาคม
ภาคกลาง กรกฎาคม – สิงหาคม
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก สิงหาคม – ตุลาคม
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มิถุนายน – กรกฎาคม
การเตรียมแปลงนา
พื้นที่นาที่ดีที่สุดในการทำนาข้าวต้องเสมอ
ถ้าไม่เสมอก็จะทำให้คุมหญ้าไม่อยู่ กักน้ำในนาให้พอดี ต่อความต้องการไม่ได้
เมื่อหว่านข้าว ข้าวก็จะขึ้นไม่เสมอ ต้องมาตามซ่อมในภายหลังอีก แต่ถ้าดินเสมอ
เมื่อถ่ายน้ำออกพื้นนาก็จะแห้งเหมือนกันทั้งหมด ข้าวก็จะขึ้นเขียวเสมอกันทั้งแปลง
ก็จะส่งผลไปถึงการออกรวงและเก็บเกี่ยวคือ ข้าวจะออกรวงพร้อมกัน สุกเหมือนกันทุกรวง คุณภาพข้าวก็จะดี
ขายได้ราคา เมื่อพื้นที่นาเสมอควบคุมน้ำได้ ข้าวก็จะแตกกอได้ดี
มีอากาศถ่ายเทลงสู่ดินได้มาก รากข้าวก็แข็งแรง ไม่ล้มง่าย
การเตรียมพันธุ์ข้าว
การทำนา พันธุ์ข้าว คือหัวใจสำคัญที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวดี
ผลผลิตก็ดีตาม ถ้าพันธุ์ข้าวไม่ดี ผลผลิตก็ได้ไม่ดีตามเช่นกัน
- พันธุ์ข้าวที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1. เมล็ดข้าวต้องไม่มีเชื้อรา เชื้อโรคติดอยู่
2. เมล็ดต้องเต็มไม่เป็นโพรงใน หรือเรียกว่าข้าวไม่เต็มกระโปรง
ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่ซื้อมาจากศูนย์ ผลิตพันธุ์ข้าว ก็จะได้ข้าวที่ดี
แต่ถ้าซื้อจากโรงสีที่ทำพันธุ์ข้าวขาย ก็จะมีดีบ้างไม่ดีบ้าง
ยิ่งถ้าเป็น พันธุ์าวที่ชาวนาเก็บไว้เอง ก็จะยิ่งมีข้าวที่ไม่สมบูรณ์อยู่มากมาย
บางครั้งยังมีโรคเชื้อราที่เมล็ด ข้าวด้วย
- วิธีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุด
1. การใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำที่มีความเค็มโดยใช้เกลือ 4 ก.ก. น้ำ 20 ลิตร ละลายให้เข้ากัน ดีแล้วนำไข่ไก่ใหม่ ๆ ใส่ลงไป
ให้สังเกตดูว่าไข่ลอยโผล่พ้นน้ำขึ้นมาขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท แสดงว่าพอดี ถ้าไข่ยังจมอยู่ให้ใส่เกลืออีกจนพอดี
แต่ถ้าไข่ลอยขึ้นมามากเกินไปก็ให้เติมน้ำลงไป อีกให้ไข่ลอยเท่าเหรียญ 5บาท
2. นำพันธุ์ข้าวเทลงไปข้าวที่เมล็ดไม่เต็มก็จะลอยขึ้นมาทั้งหมดจะเหลือข้าวที่สมบูรณ์100%จมอยู่ใต้ ล่างส่วนเมล็ดที่ลอยบ้างจมบ้างก็ให้เอาไปทิ้งให้หมด ไม่ต้องเสียดาย
3. หลังจากเอาเมล็ดลีบที่ลอยออกหมดแล้วให้นำเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ไปล้างน้ำเปล่าให้เกลี้ยง
ถ้าลืม ล้างข้าวจะไม่งอก
ระดับน้ำ
- ระดับน้ำตลอดฤดูปลูกควรควบคุมอยู่ในระดับลึกประมาณ
5-15 เซนติเมตร
- ระดับน้ำในนาข้าวลึกหรือตื้นเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเคมีสูญเสียไปง่ายระดับที่เหมาะสมกับการใส่ปุ๋ย คือที่ ระดับ 5 – 10 เซนติเมตร
-
อย่าให้ขาดน้ำในช่วงระยะเวลาระหว่างเกิดช่อดอก (ประมาณ 30 วันก่อนออกดอก)
จนถึงระยะสร้าง แป้งในเมล็ด (ประมาณ 20 วันหลังออกดอก)
- ควรระบายน้ำออกจากนา หลังข้าวออกดอกแล้ว
20-25 วัน เพื่อเร่งให้ข้าวสุกพร้อมกัน
ปุ๋ย
- ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
ดินเหนียว ใส่ครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0
อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่
ใส่ครั้งที่ 2 สูตร 21-0-0 อัตรา 20-30
กิโลกรัมต่อไร่ หรือ สูตร 46-0-0
อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนและทราย
ใส่ครั้งที่ 1 สูตร 16-16-8 หรือ 18-12-6 หรือ
15-15-15
อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่
ใส่ครั้งที่ 2 สูตร 21-0-0 อัตรา 20-30
กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0
อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่
- ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
ดินเหนียว ใส่ครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ
20-20-0
อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
ใส่ครั้งที่ 2 สูตร 21-0-0 อัตรา 10-20
กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนและทราย
ใส่ครั้งที่
1 สูตร 16-16-8 หรือ 18-12-6 หรือ15-15-15
อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
ใส่ครั้งที่ 2 สูตร 21-0-0 อัตรา 10-20
กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่
ใส่ปุ๋ยครั้งที่
1 ปลูกวิธีปักดำใส่ปุ๋ย 1
วันก่อนปักดำแล้วคราดกลบปลูกวิธีหว่านน้ำตมใส่เมื่อข้าวอายุ 20-30 วัน
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ทั้งวิธีปักดำ
และหว่านน้ำตมใส่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกรวง
- หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรักษาระดับน้ำในแปลงนาประมาณ
10-15เซนติเมตร กักน้ำ ไว้ไม่น้อยกว่า 7-10 วัน
- ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยดูดซับธาตุอาหารและชะลอการสูญเสียธาตุ อาหารจากปุ๋ยเคมี
- ดินร่วนปนทราย และดินทราย การมูลไก่อัตรา 600
กิโลกรัมต่อไร่สามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้
การกำจัดวัชพืช
- ควรเตรียมดินให้ดี
ปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอให้น้ำเข้าแปลงได้ทั่วถึงป้องกันวัชพืชได้
- วัชพืชส่วนใหญ่จะงอกเดือนมิถุนายนมากที่สุด
การปลูกข้าวหว่านน้ำตมในเดือนกรกฎาคม จะมี ประชากรวัชพืชน้อย
และได้ผลผลิตมากกว่าช่วงเวลาอื่น
- นาหว่านน้ำตม หรือนาดำ ควรกำจัดวัชพืชในช่วง
30 วันหลังข้าวงอกส่วนข้าวไร่ ควรกำจัดวัชพืช ในช่วง 14
วันหลังงอก (ใช้แรงงานคน)
- ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
ทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ยเต็มที่ อาจใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูก หรือประเภทก่อนงอกหรือประเภทหลังงอกกำจัด
แต่ต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกเวลา และถูกอัตรา
การกำจัดแมลงศัตรูข้าว
- เกษตรกรต้องหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว หนอนห่อใบข้าว เป็นแมลงที่ระบาดทำลายอย่างเฉียบพลันและ รุนแรง ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เข้าทำลายข้าวทุกระยะการเจริญ เติบโต ของข้าว
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว หนอนห่อใบข้าว เป็นแมลงที่ระบาดทำลายอย่างเฉียบพลันและ รุนแรง ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เข้าทำลายข้าวทุกระยะการเจริญ เติบโต ของข้าว
- หนอนกอข้าว และเพลี้ยไฟ ระบาดทำลายข้าวเป็นประจำทุกฤดูปลูก แต่ไม่ค่อยเสียหายรุนแรง
- แมลงหล่า
หนอนกระทู้ และหนอนปลอก เป็นแมลงที่ระบาดเป็นบางครั้งเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะ สมหลังเกิดภัยธรรมชาติ
เช่น น้ำท่วม ฝนแล้งติดต่อกันนาน
- การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
≈
การระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราวให้อยู่ในระดับเรี่ยผิวดิน เป็นเวลา 7-10 วัน สลับกับการ ปล่อยน้ำให้ท่วมกาบใบ
จนถึงระยะข้าวตั้งท้องจะช่วยลดปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ประมาณ
4 เท่า
≈
การใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์จะทำให้การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รุนแรงขึ้น
การเก็บเกี่ยว
- ระยะเวลาที่เหมาะสม
ควรเก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง ให้สังเกตเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็น สีฟาง
หรือสีน้ำตาล หรือใช้วิธีนับจากวันที่ข้าวในแปลงออกดอกร้อยละ 80
แล้วนับต่อไปอีก 30วัน
-
ก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-10 วันระบายน้ำออกจากแปลงให้หมดเพื่อเร่งให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ