วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเพาะและดูแลกล้าผักอย่างถูกวิธี

การเพาะและดูแลกล้าผักอย่างถูกวิธี


วิธีการปลูกผัก แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เป็นวิธีที่สะดวก พืชที่มีขนาดเมล็ดใหญ่จะให้ต้นอ่อนขนาดใหญ่สามารถงอกโผล่พ้นดินได้ง่าย จึงเหมาะที่จะปลูกด้วยวิธีนี้ แต่พืชที่เมล็ดขนาดเล็กเช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง การหยอดหรือหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ต้องมีการเตรียมแปลงปลูกดี และมีระบบให้น้ำที่สะดวก
2. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก เป็นการเพาะกล้าในถ้วยและถาดเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถควบคุมคุณภาพของต้นกล้าให้มีความสม่ำเสมอและแข็งแรง หลังจากย้ายปลูกต้นกล้าจะเจริญเติบโตต่อไปได้ทันทีโดยไม่มีการหยุดชะงัก ข้อดีเด่นของการเพาะกล้าแล้วย้ายปลูกคือ ช่วยลดระยะเวลาในแปลงปลูกลงและสามารถวางแผนปลูกพืชฤดูที่ 2 ได้ล่วงหน้าก่อนเก็บเกี่ยวพืชฤดูแรกเสร็จสิ้น ทำให้สามารถใช้ประโยชน์แปลงปลูกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในโรงเรือนที่มีพื้นที่จำกัด

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้ 


วัสดุ/อุปกรณ์          
     1.  สับปะรด   1 กก.
     2.  มะละกอ   1 กก.
     3.  กล้วย       1 กก.
     4.  พืชผักสีเขียวต่างๆ   3 กก.
     5.  น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์   2 ลิตร    
     6.  น้ำเปล่า   10 ลิตร    
     7.  ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาลทรายแดง   2 กก.    
     8.  ถังหรือโอ่งน้ำที่มีฝาปิดเพื่อใช้ในการหมัก
     9.  ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเพื่อปิดปากถังหรือโอ่งก่อนใช้ฝาปิดป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงถังหมัก

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

วัชพืชดื้อยาในนาข้าว

วัชพืชดื้อยาในนาข้าว


       เกษตรกรไทยใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น เนื่องมาจากสาเหตุความไม่รู้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่  วันนี้วัชพืช 2 ชนิดในนาข้าวคือ 1.หญ้าดอกขาว (หญ้าลิเก หญ้าไม้กวาด)  2. หญ้าข้าวนก (หญ้าพุ่มพวง) ได้ดื้อยาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การหว่านถั่วเขียวร่วมกับข้าวในสภาพนาหว่าน

การหว่านถั่วเขียวร่วมกับข้าวในสภาพนาหว่าน

         ถั่วเขียวเป็นพืชตระกูลที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดินและขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร แต่ในกรณีการปลูกถั่วเขียวพร้อมข้าวในสภาพนาหว่านมีจุดประสงค์เพื่อปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดสำหรับข้าว

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

สภาพแวดล้อม 
    ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักเมืองร้อนต้องการอากาศอบอุ่นหรืออากาศร้อนในการเจริญเติบโตถ้าอากาศหนาวจะไม่ค่อยได้ผลดีนัก อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต คือ 16-24 องศาเซลเซียสจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตเนื่องจากรากไม่สามารถดูดอาหารจากดินได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงไป หรือฝนตกชุกดอกจะร่วง

ดินที่เหมาะกับการปลูกถั่วฝักยาว
    คือ ดินร่วนปนทรายไม่เป็นกรด หรือด่าง
การเตรียมดิน ในพื้นที่ใหญ่ ๆ ควรทาการไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกควรตากดินไว้ 7-10 วัน ไถครั้งที่สองเพื่อย่อยดินแล้วจึงทาการยกแปลงปลูก ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรด ของดิน

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการทำนาแบบ เอส อาร์ ไอ


เทคนิคการทำนาแบบ เอส อาร์ ไอ


. การเตรียมที่นา
        ในระบบ เอส อาร์ ไอ แนะนา ให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังนั้น การไถนาทันทีที่เกี่ยวข้าวเสร็จจะดีที่สุด มันจะช่วยฆ่าแมลงและศัตรูพืชอื่น แม้ วัชพืช จะเติบโตแต่ก็จะถูกทาลายไปขณะทาให้ ดินเป็นโคลน
-  อย่าปล่อยให้น้ำท่วมนานอกฤดูกาลทำนา ไม่เช่นนั้น ดินจะขาดอากาศ และแมลงศัตรูพืชที่เป็นอันตรายจะเข้ามาอาศัย

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การปลูกชะอม


การปลูกชะอม





   ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น และเป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่คนไทยนิยมปลูกชะอมเป็นรั้วบ้าน ซึ่งสามารถเด็ดยอดไปบริโภคเป็นผักได้ทุก ๆ 3 วัน ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้างต้นหนาแน่น ชะอมมีหนามตามกิ่งจึงใช้เป็นรั้วบ้านได้ดี

การเกษตรกับแนวพระราชดำริ



การเกษตรกับแนวพระราชดำริ

เกษตรทฤษฎีใหม่

    "เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้

การปลูกข้าว


การปลูกข้าว



   การผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงทั้งปริมาณและคุณภาพ ต้องมีองค์ประกอบที่เกื้อหนุนหลายปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อม สภาพพื้นที่ ชนิดของพันธุ์ข้าว ชนิดดิน ช่วงเวลาปลูก การรักษาระดับน้ำ การใส่ปุ๋ย การเขตกรรมที่เหมาะสม การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยว เงินทุน และที่สำคัญคือตัวเกษตรกรผู้ปลูก หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือไม่เหมาะสมจะมีผลกระทบต่อผลผลิต และคุณภาพข้าว